เกี่ยวกับเรา
เบอร์โครงการ 0947151926
ติดต่อได้ที่ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น เลขที่ 888 หมู่ที่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000
คำถามที่พบบ่อย
ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยได้ท้าการทบทวนวรรณกรรมตามหัวข้อต่อไปนี้
5.1 แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
5.2 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน
5.3 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5.4 แนวคิดเกี่ยวกับกัญชง และสรรพคุณของกัญชง
5.5 กัญชงกับวิถีชีวิตชาติพันธุ์ม้ง
5.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กัญชง ถือเป็นพืชที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นพืชที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน
ซึ่งต้นกัญชงเป็นพืชที่นิยมนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอ นอกจากนี้กัญชงมี
ประโยชน์หลากหลายและปัจจุบันมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาและส่งเสริมให้ปลูกกัญชงเป็นพืช
เศรษฐกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและในเชิงอุตสาหกรรม โดยเส้นใยแห้งของกัญชงสามารถ
น ามาใช้ประโยชน์ในการทอเป็นผ้าใยกัญชง ทำหัตถกรรมพื้นบ้าน ฉนวนกันความร้อนสำหรับ
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมกระดาษ และสำหรับสารสกัดจากเมล็ดกัญ
ชงยังใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ความงามและดูแลสุขภาพ เมล็ด กัญชงมีคุณค่าทางโภชนาการ
สูง จึงมีการนำไปทำเป็นอาหาร เช่น นมจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์เสริม อาหาร (Hemp seed oil)
เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้ปลูกบ้านสร้างเรือน และทำพลาสติกชีวภาพ เป็นต้น (กองควบคุมวัตถุ
เสพติด, 2562) นอกจากกัญชงจะมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆแล้ว กัญชงยังมีสรรพคุณใน
ด้านการรักษาโรค ซึ่งนิยมใช้กัญชงเป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคแบบพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบัน กัญชง
ได้รับอนุญาตให้ใช้เชิงพาณิชย์ได้ตามประกาศของราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้วันที่ 29 มกราคม
พ.ศ. 2564 โดยเกษตรกร บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลสามารถลงทะเบียนเพื่อขออนุญาตปลูกได้
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวม้ง มีความเชื่อว่า เมล็ดกัญชงที่ปลูกนั้น เป็นเมล็ดที่ได้รับการประทานมา
จากพระเจ้า และยังเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานความอุดมสมบูรณ์มาให้มนุษย์อีกด้วย นอกจากจะมีการ
ปลูกกัญชงเพื่อน าเส้นใยมาทอผ้า เพื่อใช้นุ่งห่มในการดำรงชีวิตแล้ว ยังมีการใช้กัญชงในการประกอบ
พิธีกรรม และความเชื่อต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การสานเส้นใยกัญชงให้เป็นรองเท้า
เพื่อใช้ส าหรับคนตายใส่เดินทางไปสวรรค์ การต่อเส้นใยกัญชงให้มีความยาวเพื่อใช้เป็นสายสิญจน์
หรือแม้กระทั่งการนำกัญชงมาใช้ในพิธีที่สำคัญคือ “พิธีอัวเน้ง” หรือ “พิธีเข้าทรง” ซึ่งเป็นงาน
ประเพณีที่สำคัญของชาวม้งมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ไม่ว่าวาระสุดท้ายของ
ชีวิต ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ มันต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็น “กัญชง” ในบางครั้งก็อาจจะ
นำเส้นใยกัญชงมาทำหมวกไว้ใส่ สำหรับคนที่เสียชีวิต บางบ้านที่มีฐานะขึ้นมาหน่อยก็อาจทำเสื้อหรือ
กระโปรงไว้ชุดหนึ่งให้สวมใส่ ซึ่งชาวม้งเชื่อว่าการนำเส้นใยกัญชงติดตัวไว้กับผู้ที่เสียชีวิตในหมู่บ้านจะ
ได้ไปพบกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
นอกจากนี้ตามวัฒนธรรมของชาวม้งนั้น ผู้หญิงหรือภรรยาของ
ทุกบ้านจะมีหน้าที่ภายในบ้าน คือ การทอผ้า โดยผู้หญิงทุกคนจะต้องทอผ้าเป็น เนื่องจากสมัยก่อนไม่
มีเสื้อผ้าขาย ทำให้ต้องมีการทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนกันเอง โดยการทอผ้านั้นจะต้องทอให้ทันงานวัน
ขึ้นปีใหม่ เพื่อที่จะได้สวมใส่ผ้าใหม่เพื่อเฉลิมฉลองต้อนรับวันปีใหม่ด้วย แต่ละครัวเรือนจะมีการเริ่ม
ปลูกกัญชงตั้งแต่เดือนเมษายน และจะเริ่มทอผ้าตั้งแต่เดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนกันยายน จากนั้นจึง
นำผ้าทอมาย้อมคราม หากผู้หญิงบ้านไหนไม่ขยัน ก็จะทำให้ทอผ้าเสร็จไม่ทันใช้ใส่วันขึ้นปีใหม่
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคนทอผ้าบ้านนั้นเป็นคนขี้เกียจ ดังนั้นผู้หญิงทุกครัวเรือน จึงต้อง ทอผ้าเป็น หากทอผ้า
ไม่เป็น ผู้หญิงคนนั้นจะหาสามีไม่ได้ เพราะมีความเชื่อกันว่า ผู้หญิงคนนั้นท าอะไรไม่เป็น ซึ่งความเชื่อ
ดังกล่าวนี้ยังคงสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน (ภูมิฐวัศ สัมพันธ์พานิช และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. 2562)